วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตำนานเจ้าแม่ทับทิม

ความเป็นมาของเจ้าแม่ทับทิม
แรกเริ่ม ในสมัยราชวงศ์ฮั่นในสมัยกษัตริย์ ฮั่นกวงบู๊ตี๋ (ประมาณระหว่าง พ.ศ. 537 - 610) ซึ่งในระหว่างรัชสมัยนี้เอง เจ้าแม่ทับทิมได้รับการยกย่องและแต่งตั้งให้เป็นเทพยุดาแห่งความเมตตากรุณย์ ช่วยคุ้มครองมวลมนุษย์ให้พ้นจากสรรพภัยและขจัดความทุกข์ยากทั้งมวล แต่พอยุคสมัยราชวงศ์หมิง ผู้คนก็เริ่มลืมเลือนไป จนกระทั่งในปี พศ.2167 ตำนานของเจ้าแม่ทับทิมจึงปรากฏขึ้นอีกครั้งที่เกาะไหหนำ เขตบ่นเซียว แขวงหน่ำไห้ หมู่บ้านตุ้ยบ้วย ตำนานเริ่มจาก ผู้เฒ่าชาวประมง แซ่ พัว พบขอนไม้ติดมากับแห (บางตำนานบอกว่าเป็นขอนไม้ทับทิม) ในคืนที่หาปลาไม่ได้เลย จึงอธิษฐานกับขอนไม้ว่า"หากท่านศักดิ์สิทธิ์และมีศักดานุภาพจริง ขอให้ข้าฯ สามารถหาปลาได้เต็มช้อนแห ข้าฯ จะระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงการุณย์ แก่ข้าฯ ด้วยการนำท่านกลับไปแกะสลักเป็นเทวรูป “เจ้าแม่” พร้อมกับจะได้ทำการกราบไหว้บูชา บวงสรวงทุกค่ำเช้า”...แล้วคืนนั้นเค้าก็หาปลาได้เต็มลำเรือจริงๆ ผู้เฒ่าแซ่พัว ดีใจเก็บขอนไม้ไว้บูชา และก็หาปลาได้เต็มลำเรือทุกครั้ง เนิ่นนานผ่านไปจนหลงลืมว่า..สัญญาจะแกะสลักท่อนไม้เป็นรูปเจ้าแม่.....คืนหนึ่ง..เจ้าแม่เลยมาเข้าฝัน และขอให้ผู้เฒ่าแซ่พัวทำตามสัญญา เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาและเป็นเครื่องแสดงถึงเดชบารมีของเจ้าแม่และเป็นที่พึ่งพิงแก่ปวงชนที่ตกทุกข์ได้ยาก ดังนั้นในคืนมงคลกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (ตรงกับเดือน 12 ทางจันทรคติของไทย) ณ ทุ่งกว้างของหมู่บ้านตุ้ยบ้วย ก็มีศาลของ “เจ้าแม่ตุ้ยบ้วย” เพื่อคุ้มครองมาประสิทธิ์ประสาทแก่ปวงชน พร้อมทั้งสรรพสัตว์ที่ทุกข์ยาก และอำนวยความสำเร็จให้บังเกิดแก่ผู้ที่วิงวอนขอร้องให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ คนจีนไหหนำ (ไหหลำ) ได้เริ่มเดินทางมาประเทศไทย พึ่งพระบรมโพธิสมภารในราวพุทธศักราช 2385 ตลอดระยะเวลาที่เดินทางโดยเรือ ชาวจีนไหหนำอาศัยการบนบานเจ้าแม่ตุ้ยบ้วย ให้คุ้มครองรักษาให้การเดินทางให้เป็นไปโดยสวัสดิภาพ ฉะนั้นเจ้าแม่ตุ้ยบ่วยหรือเจ้าแม่ทับทิมจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทยเชื้อสายจีนไหหนำมาโดยตลอดงานพิธีงานไหว้เจ้าแม่ทับทิมหรือตุ้ยบ๊วยเต็งเหนี่ยง ซึ่งอยู่ราวๆ เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ประเพณีในการไหว้เจ้านั้น มักจะมีการกินเลี้ยงโต๊ะจีนและการแสดงงิ้วถวายเจ้า เรียกว่าเป็นงานครบวงจร คือคนที่มาในงานเลี้ยง ก็จะได้พร้อมทั้งผลบุญ พบปะสังสรรค์ อิ่มหนำสำราญ และความบันเทิง ในคราวเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น